top of page

พระราชประวัติและประวัติบุคคลสำคัญ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ กับพระนางเธอพระองค์เจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ซึ่งในโอกาสต่อมาได้ปรากฏพระนามพระเกียรติยศ “สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราขชนนี” พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ตรงกับเดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ทรงพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ซึ่งแปลว่า “เครื่องประดับผม” หรือพระเกี้ยวสำหรับประดับหัวจุกเด็กไทยโบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวนพระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่งเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ พระองค์ก็เสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี

                ในขณะที่ทรงพระเยาว์ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากเจ้าจอมมารดาเที่ยง เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ก็ยังระลึกถึงคุณูปการของเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่มีต่อพระองค์ พระราชโอรส และ พระราชธิดา เมื่อทรงทราบว่าเจ้าจอมมารดาเที่ยงอุปถัมสร้างวัด แห่งหนึ่งในเขตท้องที่ บางซ่อน พร้อมทั้งได้ขอพระราชทานนามวัดมาด้วย พระองค์จึงพระราชทานนามวัดเพื่อเป็นเกียรตืแก่เจ้าจอมมารดาเที่ยงว่า “วัดมัชฌันติการาม” ชื่อวัดได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔

                พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตตียราชกุมาร"เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ และเป็นองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคมพุทธศักราช ๒๓๔๗ ตรงกับเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๖๖

                ในเวลานั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถยังกำรงยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทรพระองค์จึงทรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอมาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้นครองราชย์ พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชโอรสคนทั้งหลายเรียกกันว่า "ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่"

                พ.ศ. ๒๓๕๕ ขณะพระชนมายุได้ ๙ พรรษาสมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีลงสรงซึ่งทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติย-ราชกุมาร"

                พ.ศ. ๒๓๕๙ ทรงมีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษาสมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีโสกันต์

                พ.ศ. ๒๓๖๐ ทรงผนวชเป็นสามเณรประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ เป็นเวลา ๗ เดือน

                พ.ศ. ๒๓๖๗ มีพระชนมายุย่าง ๒๑ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯ ให้ผนวชตามพระราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและจำพรรษา ณ วัดมหาธาตุฯ มีฉายาว่า “วชิรญาณภิกขุ” หลังผนวชได้ ๑๔ วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถก็ประชวรและสวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วน ในเวลานั้นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหม่เจริญพระชันษากว่าพระองค์ถึง ๑๗ ปี ทรงเปี่ยมด้วยประสบการณ์และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงบังคับบัญชาต่างพระเนตร พระกรรณมาตลอดที่ประชุมราชวงศ์และเสนาบดีเห็นควรถวายราชสมบัติแด่หมื่นเจษฏาบดินทร์ เมื่อทรงทราบดังนั้นพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ จึงทรงผนวชต่อไปจนตลอดรัชกาลที่ ๓ เป็นเวลาถึง ๒๗ พรรษา โดยจำพรรษา ณ วัดมหาธาตุฯ วัดราชาธิวาส และวัดบวรนิเวศวิหารตามลำดับ

                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสร็จเถลิงราชสมบัติในวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ สวรรคตในวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา ทรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๗ ปี

                พระองค์ผู้ทรงสถาปนาคณะกรรมยุตินิกายขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๓๗๒ (ตามพระมติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์) เพื่อเป็นการปฏิรูปคณะสงฆ์ใหม่ให้สอดคล้องกับการเจริญของโลก เป็นผลจากการฟื้นฟู พระพุทธศาสนาและการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยในขณะที่ทรงผนวชอยู่จากการได้ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างแตกฉานเป็นเหตุให้ทรงมีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนาและการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระวินัย โดยที่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้นจากผลของการแสวงหาความถูกต้องตามพระธรรมวินัย เริ่มแต่การทรงศึกษาสอบสวนของพระองค์

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ พระชนมายุ ๘๖ พรรษา

                พระองค์เป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอมและหม่อมเอมประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า ฯ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กมกุฏราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เป็นทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภฯ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศฯ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยคตั้งแต่ยังเป็นสามเณรทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ สอบได้เปรียญ ๗ ประโยคเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระคุณคุณาภรณ์

พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชริรญาณวโรรสมาตั้งแต่ต้นคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์บทเรียนต่างๆพระราชทานพระภิกษุสงฆ์ไปไว้ใช้ฝึกสอนให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมือง ทั้งปวงหมวดเดียวกันพระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑ อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนาและการศึกษาให้หัวเมืองพระองค์จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี

                

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ๗ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๐๓ เมื่อวันประสูตินั้น ฝนตกใหญ่ พระบรมชนกนาถจึงทรงถือเป็นมงคลนิมิต พระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ” หลังจากประสูติได้เพียงปีเดียว เจ้าจอมมารดาของพระองค์ก็ถึงแก่กรรม พระองค์จึงทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของกรมหลวงวรเสฐสุดา (พระองค์เจ้าบุตรี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระญาติ ทรงเรียกว่าเสด็จป้า มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงย้ายมาอยู่กับท้าวทรงกันดาร (ศรี) ผู้เป็นยาย

พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามพร้อมกับเจ้านายอื่นอีก ๒ พระองค์ สมเด็จพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อทรงผนวชมาแล้วมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๒ เดือนเศษ จึงทรงลาผนวช

ครั้นพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๒ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จมาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงหน้าเข้าพรรษาของปีนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาทรงถวายพุ่มพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามราชประเพณี และในคราวนั้น ได้เสด็จฯไปถวายพุ่มพรรษาแด่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ซึ่งทรงผนวชใหม่ถึงกุฏิที่ประทับพร้อมทั้งทรงกราบด้วยพระอาการเคารพอันเป็นอาการที่ไม่เคยทรงปฏิบัติต่อพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่น ที่ทรงผนวชเป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นทรงตัดสินพระทัย ไม่ทรงลาผนวชแต่วันนั้น

หลังจากทรงจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษาแล้ว ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ ๒ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามในสำนักของพระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม) ผู้เป็นพระกรรมวาจารย์ในระหว่างที่ประทับ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามนั่นเอง ได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้นโดยพระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม) เป็นพระอุปัชฌาย์พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเปรียญอยู่วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระกรรมวาจารย์ ณ โบสถ์แพ หน้าวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๒

เมื่อทรงผนวชได้ ๓ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยติธรรม หน้าพระที่นั่ง ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหราฬห้องเขียวท่ามกลางประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูปมีสมเด็จกรมพระยาปรเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธานทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค และทรงหยุดอยู่เพียงนั้น

                หลังจากทรงแปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ ๕ ประโยคแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงดำรงสมณศักดิ์ เป็นเจ้าคณะรองในธรรมยุติกนิกายเมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๔ พระองค์ทรงเป็นเจ้าคณะรองในคณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรก และทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ทรงมีพรรษายุกาลน้อยที่สุดคือ ๓ พรรษาเท่านั้น

                พุทธศักราช ๒๔๓๔ สมเด็จพระมหาสมณฌจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดให้สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะเมื่อทรงดำรงพระอิศริยยศ เป็นกรมหมื่น ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๓

                สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประชวรวัณโรคมีพระอาการเรื้อรัง มาเป็นเวลานาน กระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ อันเป็นปีที่ทรงเจริญมายุครบ ๖๐ พรรษาอาการประชวรกำเริบมากขึ้นจังเสด็จโดยทางเรือไปรักษาพระองค์ทางชายทะเลจนถึงจังหวัดสงขลา พระอาการยิ่งทรุดหนักลงประจักษ์แก่พระหฤทัยว่ากาลที่สุดใกล้จะถึง จึงเสร็จกลับกรุงเทพ ฯ โดยทางรถไฟเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคมพุทธศักราช ๒๔๖๔ ครั้งถึงวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ เวลา ๔ นาฬิกา ๓๕ นาที ก่อนเที่ยง (๑๐.๓๕ น.) ก็สิ้นพระชนม์สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ๓ เดือนเศษทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ๓๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช ๑๐ ปีกับ ๗ เดือนเศษถึงเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

                เจ้าจอมมารดาเที่ยง และเจ้าจอมมารดาแสมีมารดาเป็นพระญาติกัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าเจ้าจอมมารดาเที่ยงเข้ามาอุปถัมภ์ในการสร้างวัดมัชฌันติการามขึ้น พระองค์ในฐานะหลานและเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตจึงทรงรับเป็นพระธุระในการสร้างอุโบสถ เจดีย์และเสนาสนะอื่น ๆ จนเสร็จสมบูรณ์ อักทั้งยังทรงเป็นประธานในการผูกพัทธสีมา ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ 

เจ้าจอมมารดาแส

เจ้าจอมมารดาแส โรจนดิศ เป็นธิดาพระยาอัพภันตรีกามาตย์ (ดิศ) กับขรัวยายบางเกิด วันที่ ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๕๓๑ ถึงอสัญกรรมเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระราชทาน เพลิงศพเมื่อปีขาล เดือน พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๕ มีพระราชโอรสและพระราชธิดาคือ
๑. พระองค์เจ้าชายเขจรจิรประดิษฐ์
๒. พระองค์เจ้าหญิงอัพภันตรีประชา (ต่อมาเปลี่ยนเป็น พระองค์เจ้าอภันตรีประชา)
๓. พระองค์เจ้าหญิงทิพยาลังการ

ในขณะที่ทรงเยาว์วัยได้มีโอกาสเดินทางมาทำบุญและอุปถัมภ์การสร้างเสนาสนะต่างๆ กับเจ้าจอมมารดาเที่ยงอยู่บ่อยๆ ในฐานะน้องสาว เมื่อเจ้าจอมมารดาเที่ยงถึงอสัญกรรมในปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ เจ้าจอมมารดาแสก็ได้รับเป็นธุระในการทำนุบำรุง วัดมัชฌันติการาม สืบต่อมาในด้านต่างๆด้วยดี แม้การคมนาคมมาวัดจะไม่สะดวกก็ตาม หนทางไม่เคยเป็นอุปสรรคต่อศรัทธาของเจ้าจอมมารดา ในการอุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร และการก่อสร้างต่างๆ ของวัดด้วยดีจนถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ

ส่วนเจ้าจอมมารดาเที่ยงนั้นก็มีความจงรักภักดีจึงเป็นผู้ที่สนิทสนมในสมเด็จพระราชโอรสธิดามาแทบทุกพระองค์ ความชอบของท่านมีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปีกุน พุทธศักราช ๒๔๓๐ ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถประชวร เนื่องกันในคราวเดียวหมดทั้ง ๕ พระองค์ที่มีอยู่ในเวลานั้น เจ้าจอมมารดาเที่ยงเข้าไปเยี่ยมประชวร เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทอดพระเนตรเห็นเจ้าจอมมารดาเที่ยงซึ่งเป็นผู้ซึ่งโปรดปรานดังกล่าวมาแล้ว มีพระประสงค์ จะให้อยู่รักษาพยาบาล ท่านก็อยู่ช่วยพิทักษ์รักษา โดยเต็มกำลังทั้งเวลาที่ท่านมีความทุพพลภาพเบียดเบียนอยู่บ้างแล้ว ในคราวนั้นแม้ได้จัดการรักษาพยาบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอโดยกวดขัน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระบรมราชินีนาถก็สิ้นพระชนม์ต่อๆ กันมาถึง ๔ พระองค์ ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง ที่ประสูติใหม่อีกพระองค์หนึ่ง คงเหลืออยู่ในครั้นนั้นแต่พระบาทสมเด็จเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถพระองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถต้องทรงพระปริวิตก และได้ทรงประสบความเศร้าโศกสาหัสอยู่ตลอดเวลาหลายเดือน

เมื่อทรงระลึกถึงคุณูประการของเจ้าจอมมารดาเที่ยงที่ได้อุตส่าห์เข้าไปประจำรักษาพยาบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในครั้งนั้น จึงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงอุปการะตอบแทนคุณของเจ้าจอมมารดาเที่ยงอยู่มิได้ขาด นอกจากการสนองพระเดชพระคุณในอุปการกิจดังกล่าวมาแล้วท่านมิได้พอใจจะไปสู่ที่ประชุมในการงาน ณ ที่ใดๆ แม้ในราชการถ้าไม่จำเป็นแล้วท่านก็ไม่ไป เวลาท่านมีกิจธุระต้องไปไหนใครจะเคารพนบนอบต่อท่านหรือเพิกเฉยเสีย หรือแม้ที่สุดจะเดินกรายท่านไป โดยปราศจากความเคารพท่านก็อุเบกขา มิได้ถือโทษให้เกิดเวรกรรมแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ท่านรักษาอัธยาศัยอย่างนี้มาตลอดอายุของท่าน

                        แต่ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชอัธยาศัยต่อเจ้าจอมมารดาเที่ยงตลอดราชกาล เวลาท่านได้เฝ้าแหนเมื่อใด ก็ทรงแสดงพระอัธยาศัยทรงพระกรุณาสนิทสนมเหมือนกับเมื่อก่อนเสวยราชย์ เวลามีโอกาสที่จะพระราชทานเกียรติยศแก่ท่านได้ก็มิได้ทรงละลืมทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษซึ่งมีสายสะพายขึ้น ก็พระราชทานแก่เจ้าจอมมารดาเที่ยงคนเดียวในเจ้าจอมมารดารัชกาลที่ ๔ ซึ่งมิได้ทำราชการเช่นตัวท่าน และต่อมาพระราชทานรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ ชั้นที่ ๒ เป็นเกียรติยศอีกอย่างหนึ่ง

เจ้าจอมมารดาเที่ยงได้สร้างวัดน้อยที่บางเขนตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ วัดหนึ่ง การมาสำเร็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับเป็นพระธุระผูกพันธสีมา เมื่อในรัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า วัดมัชฌันติการาม เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกา การกุศลอย่างอื่นๆ ท่านได้บำเพ็ญมาเนื่องนิตย์เป็นอเนกปริยาย ท่านมักพอใจไปบำเพ็ญการกุศลมีสมทานอุโบสถศีล เป็นต้น ที่วัดมกุฏกษัตริย์มากกว่า ที่อื่น

                        เจ้าจอมมารดาเที่ยงทุพพลภาพด้วยความชราเบียดเบียนมาหลายปี อาการทรุดลงเมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิพาท่านแปรสถานออกไปอยู่เมืองราชบุรี กับหม่อมเจ้า ชาย สฤษดิเดช สมุหเทศาพิบาล มณฑลราชบุรีผู้เป็นหลานเมื่อท่านออกไปอยู่คราวนี้ ประจวบเวลาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวออกไปประพาสเมืองราชบุรี ได้ทรงอุตสาหเสด็จไปเยี่ยมถึงแพที่ท่านพักอยู่ โดยทรงพระกรุณาเป็นเหตุให้เกิดความปิติยินดีแก่ท่านจนอาการคลายขึ้นได้คราวหนึ่ง แต่เพราะท่านชราอายุมาก อาการฟื้นขึ้นคราวหนึ่งแล้วก็ทรุดลงอีกต้องพากลับเข้ามากรุงเทพฯ พระโอรสธิดาและญาติวงศ์ของท่านมาช่วยกันรักษาพยาบาลอยู่ที่วังกรมหมื่นพงษาดิศรมหิป

 ประกอบกับที่ท่านเป็นเจ้าจอมมารดาชั้นผู้ใหญ่และเป็นเหล่าข้าหลวงเดิมมาจึงทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในที่เจ้าจอมมารดาชั้นผู้ใหญ่ซึ่งทรงไว้วางพระราชหฤทัยได้บังคับบัญชาห้องเครื่องต้น เป็นผู้ตั้งเครื่อง และทรงใช้สอยการเบ็ดเสร็จต่างๆ อีกเป็นอันมากตลอดจนการที่เนื่องด้วยฝ่ายหน้า ยกตัวอย่างดังเวลาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชธุระจะให้ทูลความอย่างใดในส่วนพระองค์หรืออันเป็นการฝ่ายในแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มักรับสั่งให้เจ้าจอมมารดาเที่ยงขึ้นไปเฝ้ากราบทูลพระราชธุระ ถึงพระบรมมหาราชวังส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเวลามีพระราชธุระอย่างใดในส่วนพระองค์ ที่จะกราบบังคมทูล แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จลงมายังพระบรมมหาราชวัง บางทีก็มีรับสั่งให้เข้ามาบอกเจ้าจอมมารดาเที่ยงออกไปเฝ้าที่ท้องพระโรง ให้นำความตามพระราชธุระเข้ามากราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนืองๆ แม้ข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อยังเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงไต่ถามพระราชธุระก่อนถึงเวลาเสด็จออกบางทีก็โปรดให้เจ้าจอมมารดาเที่ยงออกไปถาม ท่านเจ้าจอมมารดาคน ๑ ซึ่งพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เข้านอกออกในได้โดยที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยว่าเป็นผู้ใหญ่ เช่น เมื่อครั้งพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ประชวร พอทรงทราบว่าพระอาการหนักก็รับสั่งออกไปกำกับตรวจตราการรักษาพยาบาลถึงที่วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศตลอดมาจนเวลาสิ้นพระชนม์ แต่ในส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เจ้าจอมมารดาเที่ยงได้มีความจงรักภักดีมาโดยตลอดเฉพาะพระองค์ตั้งแต่ทรงวัยเยาว์ จนเมื่อทรงพระเจริญเสด็จออกไปอยู่ ณ ตำหนักสวนกุหลาบ ท่านก็ยังติดตามออกไปเฝ้าแหนสนองพระเดชพระคุณโดยความรักใคร่อยู่เสมอมิได้ขาด

เจ้าจอมมารดาเที่ยง

เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2374 - พ.ศ. 2456) เป็นเจ้าจอมมารดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป

                เจ้าจอมมารดาเที่ยง เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔ เป็นธิดาคนโตของ พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) และขรัวยายคล้าย มีน้องสาวที่เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน คือ เจ้าจอมมารดาชุ่ม และ เจ้าจอมมารดาทับทิม (ธิดาขรัวยายอิ่ม) และเจ้าจอมมารดาแส (ธิดาขรัวยายบาง) เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดปรานและไว้วางพระราชหฤทัยยกย่องเป็นพระสนมผู้ใหญ่ โปรดเกล้าฯให้บัญชาการห้องพระเครื่องต้น เจ้าจอมมารดาเที่ยงให้พระประสูติการพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง ๑๐ พระองค์ คือ

·         พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี (พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๗๔) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี 
ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์

·         พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๐๒) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ

·         พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๕๖) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ

·         พระองค์เจ้าชายกมลาสน์เลอสรรค์ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๗๔) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ 
พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร

·         พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๖๑) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ 
พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา

·         พระองค์เจ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ 
สิ้นพระชนม์ เมื่อมีพระชันษาได้ ๘ วัน)

·         พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๗๘) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต 
กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป

·         พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๗๒) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง

·         พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช (พ.ศ. ๒๔๐๘ สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ ๙ วัน) 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช

·         พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ (พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๙๓) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ 
พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์

 

                เจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นผู้สร้างวัดมัชฌันติการาม โดยปัจจุบันมี ท่านเจ้าคุณ พระพุทธิสารโสภณ (เดช กตปุญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาส ขึ้นที่ตำบลบางซื่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ทรงพระราชทานนามวัดว่า วัดมัชฌันติการาม ซึ่งมาจากคำว่า มัชฌันติกและ อาราม มีความหมายว่า "วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง" เจ้าจอมมารดาเที่ยง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ อายุได้ ๘๒ ปี ๑ เดือน ๖ วัน

พระพรหมมุนี

พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) เป็นยุตรของนายห้อย – นางฮวดธรรมประธีป เกิดวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๗ ณ ตำบลบ้านแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเกตุการาม โดยมีพระพุทธวิริยากร (จิตฺตฉนฺโน) วัดสัตตนารถปริวัตร เจ้าคณะจังหวัดราชบุรีเป็นพระอุปชฌาย์

            พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้อยู่เข้ามาวัดบวรนิเวศวิหาร

            พ.ศ. ๒๔๖๗ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค

            การดำรงสมณศักดิ์

            พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นพระครูสังฆบริบาล แล้วเลื่อนเป็นครูวินัยธรรม ฐานานุกรมของสมเด้จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

            พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นพระราชาคณะที่พระสุพจมุนี

            พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปชฌาย์

            พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพมุนี

            พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นที่พระธรรมปาโมกข์

            พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น รองสมเด็จพระราชาคณะที่พระพรหมมุนี

            ตำแหน่งทางการปกครอง

            พ.ศ. ๒๕๐๑ รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

            พ.ศ. ๒๕๐๔ มรณภาพ ศิริรวมอายุได้ ๖๔ ปี

            พระพรหมมุนีเป็นพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งที่มีส่วนในการอุปถัมภ์ วัดมัชฌันติการราม ในช่วงที่มารักษาการแทนเจ้าอาวาส ในการดำเนินการตัดถนนเข้าวัดสร้างสำนักนารีพรต สร้างศาลาเจ้าคุณพรหมฯ เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาปริยัติธรรม เป็นต้น 

พระองค์เจ้าหญิงอภันตรีปชา เป็นพระราชธิดาในหลวงรัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาแสประสูติเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๒ ทรงพระอิสริยยสเมื่อแรกประสูติเป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าหญิงอภันตรีปชา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จสมเด็จพระจลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับเฉลิมพระนามเป็นพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับการเฉลิมพระนามเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสิ้นประชนม์เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๗๗ ทรงเฉลิมพระนามเมื่อสิ้นพระชนม์แล้วเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอภันตรีปชา โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

          พระองค์เจ้าหญิงอภันตรีปชา ได้เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ทำนุบำรุงวัดมัชฌันติการาม มาด้วยดีในด้านต่างๆ ต่อจากเจ้าจอมมารดาแสพระมารดา ดังมีรูปปรากฏอยู่ในพระอุโบสถของวัดในปัจจุบัน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอภันตรีปรีชา
พระครูธรรมสารวิจิตร

ประวัติของหลวงปูอ่อน ไม่มีการบันทึกไว้ มีแต่การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาบรรดาศิษยานุศิษย์ จึงต้องทำการค้นคว้าต่อไป ตามคำบอกเล่าที่พอจะรวบรวมได้คือ

            ภูมิลำเนาเดิมของหลวงปูอ่อนเป็นคนอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ไม่ทราบว่าอุปสมบทเมื่อไร สันนิษฐานง่าอุปสมบทในรัชการที่ ๔ หลังอุปสมบทในบวรพระพุทศาสนาแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ตามที่มีในสมัยนั้น รวมถึงศึกษาไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ จากสำนักของครูอาจารย์ที่มีในสมัยนั้น ทั้งในเขตจังหวัดชลบุรี บ้านเกิดชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี อยุธยา จนมีความเชี่ยวชาญ

            หลวงปู่อ่อนเป็นศิษย์สำนักเดียวกันกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท กอปรกับหลวงปู่มีนิสัยชอบธุดงค์กรรมฐานไปในสถานที่สงัด ปราศจากผู้คน เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อาจกล่าวได้ว่า จังหวัดต่าง ๆ ในเขตภาคกลางนี้เกือบทั้งหมด หลวงปู่เคยเดินธุดงค์ไปมาหมดแล้ว หลวงปู่จึงมีชื่อเสียงทางเมตตาและทางขมังเวทย์ตั้งแต่ยังเป็นภิกษุหนุ่ม ประกอบสมัยนั้น จอมมารดาเที่ยงและลูกหลานได้มาอุปถัมภ์ในการสร้างวัดมัชฌัณติการรามอยู่

            และได้กราบทูลสมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับเป็นพระธุระในการช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์พระอารามในด้านต่าง ๆ ทั้งอุโบสถเจดีย์ ศาลาการเปรียญและกุฏิรับรองพระสงฆ์ ในขณะเดียวกันก็หาพระสงฆ์ที่มีศีลาจาวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใส มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด ด้วยการก่อสร้างศาสนวัตถุต่าง ๆ ได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ยังขาดแต่พระภิกษุผู้มาจำพรรษา และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสกิตติศัพท์ของหลวงปู่อ่อนว่าเป็นผู้ศีลาจาวัตรงดงามน่าเลื่อมใส ได้ทราบถึงพระกรรณของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าและได้ตรัสรับสั่งนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาผู้อุปถัมภ์วัดและศรัทธาของประชาชนชาวสวนคลองบางเขนใหม่ด้วย หลวงปูอ่อนจึงได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดมัชฌัณติการาม ตั้งแต่ปีพุทธศักราช  ๒๔๑๗ เป็นต้นมา หลังจากการก่อสร้างอุโบสถ เจดีย์ ศาลาการเปรียญและกุฏิรองรับพระสงฆ์เรียบร้อย แล้ว ก็มีการจัดงานผูกพัทธสี มาฝังลูกนิมิตรอุโบสถ พร้อมทั้งฉลองวัดไปในงานเดียวกันในปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นประธานในการผูกพัทธสีมา หลังจากงานเสร็จหลวงปู่ก็อยู่ปกครอง คณะสงฆ์เป็นที่พึ่งแก่คณะอุบาสกอุบาสิกาวัดมัชฌัณติการามเป็นลำดับมา โดยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสจั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ จากความที่หลวงปู่เป็นภิกษุที่มีศีลาวัตรงดงามเป็นที่น่าเคารพของคนในท้องถิ่นนี้เป็นจำนวนมาก และเป็นภิกษุที่ทรงไว้ซึ่งวิทยาคุณเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไป

จนข่าวได้ทราบไปถึงพระเนตรพระกรรณของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ซึ่งเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ว่ามีสหธรรมของหลวงปู่ศุขได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมัชฌัณติการาม จนมีชื่อเสียงปรากฎ มีลูกศิษย์ที่ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก ใคร่ที่จะมาฝากตัวเป็นบูกศิษย์ จึงได้แจวเรือมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าทางบางเขนใหม่ ซึ่งเป็นทางคมนาคมเข้าวัดที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้นกับทหารองรักษ์ขึ้นที่ท่าน้ำ แล้วเข้าไปกราบใคร่อยากดูทดลองดูวิทยาคุณของหลวงปู่ว่าสมคำล่ำหรือจริงไม่ จึงกราบเรียนขอวัตถุมงคลจากพระเดชพระคุณหลวงปู่ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดขมังเวทย์ของท่าน จึงอยากทดลองดู โดยแจวเรือออกไปที่แม่น้ำพระยากับทหารองครักษ์ แล้วนำผ้าประเจียดมาตั้งอธิฐานว่า ถ้าหลวงปู่มีวิทยาคุณสำคำเล่าลือจริง ขอให้ยิงปืนพระแสงไม่ออก แล้วได้ทดลองดูหลายครั้ง พระแสงปืนยิงไม่ออก ได้ประจักษ์พยานด้วยพระองค์เอง จึงหันเรือกลับมาที่วัดมัชฌัณติการาม ฝากตัวเป็นตัวลูกศิษย์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

            ยังมีเรื่องเล่าสืบต่ออกันมาอีกของบรรดาแม่ค้า ที่นำสินค้าเข้ามาขายตามคลองบางเขนใหม่ เมื่อเดินทางถึงหน้าวัดมักขอพนจากรูปเหมือนหลวงปูอ่อน และกวักน้ำที่ท่าน้ำหน้าวัดปะพรมที่เรือ และสินค้าต่าง ๆ ในเรือ เพื่อความเป็นสิริมงคล ค้าขายดีกันจนทำเป็นประเพณี เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ขายของต่าง ๆ ได้หมดในเวลาไม่นาน หลวงปู่จึงเป็นที่เคารพ อย่างยิ่งของแม่ค้าทางเรือที่สัญจรค้าขายไปมา จนชื่อเสียงของหลวงปู่อ่อนในมางเมตตามหานิยม ขมังเวทย์ยิ่งโด่งดังที่ โจษขานของคนทั่วไปยิ่งขึ้นจนชื่อสียงไปถึงสำนักพระราชวัง

            ในหลวงรัชการที่ ๙ ซึ่งเป็นผู้โปรดเกล้าฯพระราชทานนามวัดได้ทรงทราบ ใครจะพระราชทานสมณศักดิ์ให้เพื่อเป็นการบูชาคุณหลวงปู่ แต่เนื่องจากหลวงปู่เป็นพระที่มักน้อยสันโดษ ไม่ปารถนายศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ หลวงปู่จึงไม่เดินทางเข้าไปรับพระราชทานสัญญาบัตรบัตรพัดยศและผ้าไตร ในพระบรมมหาราชวังทั้ง ๆ ทั้งที่ในสมัยในเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช จึงเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่จากกรมสังฆการี นำตราตั้งและ พัดยสถวายถึงวัดมัชฌัณติการามในกาล่อมา ต่อมาทางเจ้าคณะเขตผู้ปกครองตามลำดับชั้น ได้พิจารณาเห็นว่าหลวงปู่อ่อนเป็นผู้ที่มีพรรษากาลพอควร มีตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสมานาน มีศิษยานุศิษย์มากมาย จึงเสนอแจ่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เพื่อให้การอุปสมบทกุลบุตร ผู้มีจิตศรัทธาใคร่อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนาในบรรดาสัทธิวิหาริก ของหลวงปู่เป็นอุปัชฌาย์ ให้นั่นที่มีชื่อเสียงปรากฏเป็นถึงรองสมเด็จพระราชาคณะ คือ พระเดช พระคุณ พระญาณ-วโรดม (สนธิ์ กิญจกาโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร หลวงปู่อ่อนในขณะนั้นจึงมีชื่อเสียงกระจายไปทั่ว ทุกทิศมีศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายเจ้านายชั้นสูง พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และประชาชนทั่วไปนับถือเป็นจำนวนมาก

พระครูธรรมสาวิจิตรก็เช่นเดียวกัน หลวงปู่ได้ป่วยได้โรคชราภาพและได้ถึงแก่มรณภาพในขณะที่มีอายุ ๗๐ กว่าปี ในตอนต้นของสมัยรัชการที่ ๖ สังขารของหลวงปู่อ่อนได้ทำการพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดมัชฌัณติดชการาม หลังจากนั้นได้ทีการนำอัฐิของหลวงปู บรรจุไว้ใต้รูปเหมือนหลวงปู่อ่อน ญาณเตโช ที่วิหารของท่านในปัจจุบันแต่บรรดาศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือในตัวท่านก็ยังระลึกถึงคุณงามความดีของท่านกันอยู่ทุกปีในวัน ๘ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ศิษยานุศิษย์ทุกหมู่เหล่าจะมาทำบุญบำเพ็ญกุศลอุทิศแด่หลวงปู่อ่อนมาตลอดจนเป็นประเพณีงานประจำปีปิดทองรูปเหมือนของท่านมาถึงในปัจจุบัน

© 2023 by Indie Music Management. Proudly created with Wix.com

bottom of page